วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ประโยคปฏิเสธและคำกริยา ประโยคคำสั่ง และประโยคอุทาน

เรื่องประโยคปฏิเสธและคำกริยา  ประโยคคำสั่ง และประโยคอุทาน
ประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence) คือประโยคบอกเล่าที่มีคำหรือวลีที่มีความหมายในเชิงปฏิเสธอยู่ในประโยค ซึ่งจะเป็นคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เช่น not, never, hardly, scarcely, rarely เป็นต้น หรือคำสรรพนามแสดงการปฏิเสธ เช่น no one, nobody, none, no, nothing เป็นต้น
(ตัวอย่าง)
Nobody told me to go there on Sunday.  (ไม่มีใครบอกให้ฉันไปที่นั่นในวันอาทิตย์)
I don't want to attend the class today.  (ฉันไม่อยากไปเรียนวันนี้เลย)
This subject is not difficult for us.  (วิชานี้ไม่ยากเลย)
Nothing is worrying, you will pass the examination.  (ไม่ต้องห่วง คุณคงจะสอบผ่าน)
วิธีการทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคปฏิเสธ ทำได้ 2 แบบ คือ
1. เติมคาว่า not ไปข้างหลังกริยาช่วย (Helping or Auxiliary Verb) ในประโยค บอกเล่า (Affirmative Sentence)
(ตัวอย่าง)
 I will not go to school tomorrow.   (พรุ่งนี้ฉันจะไม่ไปโรงเรียน)
                She doesn’t like cats.    (เธอไม่ชอบแมว)
สังเกตวิธีการทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคปฏิเสธ จะใช้หลักเดียวกันกับวิธีทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถาม คือ ถ้าประโยคใดมีกริยาช่วยอยู่ให้เติมคาว่า “not” (ไม่) เข้าไปหลังกริยาช่วย แต่ถ้าประโยคใดไม่มีกริยาช่วยให้เติม “Verb to do” ไปหน้ากริยาแท้ หรือกริยาหลัก โดยกระจายให้ถูกบุรุษ เพศ พจน์และกาล
ประโยคปฏิเสธ กริยาช่วยที่แสดงการปฏิเสธสามารถใช้ในรูปย่อได้ คือ
   do not         รูปย่อ        don't
 does not      รูปย่อ        doesn't
have not      รูปย่อ        haven't  

has not         รูปย่อ       hasn't
 am not          รูปย่อ       'm not

is not            รูปย่อ       isn't

are not          รูปย่อ       aren't

shall not        รูปย่อ      shan't
will not         รูปย่อ      won't

cannot            รูปย่อ      can't

กริยาช่วย “can”(สามารถ) เมื่อเติมคำว่า "not" เข้าไปจะเขียนติดกันเป็น cannot คำกริยาช่วยตัวใดทำหน้าที่เป็นกริยาแท้ เช่น have (กิน,มี) do (ทา) เวลาทำเป็นประโยคปฏิเสธ ต้องใช้กริยาช่วย Verb to do เช่นเดียวกัน
ประโยคคำสั่ง (Imperative or Order sentence) เป็นประโยคที่บอกให้ทำหรือขอร้องให้ทำตามที่ผู้นั้นบอก ซึ่งผู้ที่รับคำสั่งคือ ผู้ที่คนสั่งพูดด้วย ซึ่งคนที่จะสั่งจะเป็นบุรุษ ที่ 1 คือ ผู้พูด (I หรือ we) ส่วนคนที่ถูกสั่งจะเป็นบุรุษที่ 2 (You) เมื่อเป็นประโยคคำสั่งจะตัด ประธาน (You) ออก ประโยคคำสั่งต้องขึ้นต้นด้วยคำกริยาช่องที่ 1 เสมอ ซึ่งอาจจะเป็นรูปบอกเล่าหรือปฏิเสธก็ได้
(ตัวอย่าง)   
Don't walk on the loan! ห้ามเดินในสนาม
Enter your personal code. ใส่รหัสส่วนตัวของท่าน
Sit down here! นั่งตรงนี้
Follow me! ตามฉันมา


วิธีการทำประโยคคำสั่ง
Verb + Object + Complement  (กริยา)   (กรรม)    (ส่วนขยาย)
ประโยคคำสั่งจะเป็นประโยคที่สรรพนามบุรุษที่ 2 (You) เป็นประธานและอยู่ในรูป ปัจจุบันกาลธรรมดา (Present Simple Tense) เสมอ เพราะการที่จะสั่งหรือขอร้องให้ใครทำ อะไรจะพูดหรือบอกให้ทำหรือไม่ทำในขณะที่พูดนั้น  การทำประโยคคำสั่งจะมาจากประโยคบอกเล่า (Affirmative Sentence) โดยตัด ประธานออก




ตัวอย่าง   
       ประโยคบอกเล่า                                                          ประโยคคำสั่ง
(Affirmative Sentence)                                               (Imperative or Order sentence)
 You follow me.                                                                Follow me.
(คุณตามฉันมา)                                                                  (ตามฉันมา)
You sit down here.                                                            Sit down here.
(คุณนั่งลงตรงนี้)                                                                 (นั่งลงตรงนี้)
You don't walk on the lawn.                                        Don't walk on the lawn.
(คุณไม่เดินบนสนามหญ้า)                                              (อย่าเดินบนสนามหญ้า)
You turn a little bit left.                                                  Turn a little bit left.
(คุณเขยิบไปทางซ้ายอีกสักนิด)                                        (เขยิบไปทางซ้ายอีกสักนิด)
ประโยคอุทาน (Exclamatory sentence) คือประโยคที่ใช้แสดงความรู้สึกและ อารมณ์ เช่น เสียใจ ดีใจ เป็นต้น ใช้ได้ทั้งประโยคเต็มรูปและลดรูป
1. ประโยคอุทานเต็มรูป จะขึ้นต้นด้วยคาที่เป็นคำถาม (Question word) how (อย่างไร) และ what (อะไร) ถ้าขึ้นต้นด้วย How จะตามด้วยคำคุณศัพท์ (Adjective) หรือคำกริยา วิเศษณ์ (Adverb) แล้วตามด้วยประธาน (Subject) และกริยา (Verb) ซึ่งอาจจะมีส่วนขยาย (Complement) ด้วยก็ได้ ส่วนประโยคที่ขึ้นต้นด้วย What จะตามด้วยนามวลี (Noun phrase) แล้ว ตามด้วยประธาน (Subject) และกริยา (Verb)
How + Adjective + Subject + Verb + Complement (คำคุณศัพท์) (ประธาน) (กริยา) (ส่วนขยาย)
Adverb (คำกริยาวิเศษณ์)
What + Noun phrase + Subject + Verb  (นามวลี) (ประธาน) (กริยา)   เช่น
 How beautiful she is! เธอช่างสวยอะไรเช่นนี้
How fluently he can speak English! เขาช่างพูดภาษาอังกฤษคล่องอะไรเช่นนี้
What a healthy man he is! เขาช่างเป็นคนแข็งแรงอะไรเช่นนี้
What a wonderful girl she is! เธอช่างเป็นเด็กมหัศจรรย์อะไรอย่างนี้
2.ประโยคอุทานลดรูป เป็นประโยคที่ตัดประธาน (Subject) และกริยา (Verb) รวมทั้งส่วนขยาย (Complement) ออก เช่น   How beautiful! สวยจริงๆ
How fluently! พูดคล่องจริงๆ
What a healthy man! ช่างเป็นคนที่แข็งแรงจริงๆ

What a wonderful girl! ช่างเป็นเด็กมหัศจรรย์อะไรเช่นนี้

1 ความคิดเห็น:

  1. Pinch Steel RARE Titanium Pickaxe Terbaru & Steel
    Pinch Steel RARE Titanium Pickaxe Terbaru & Steel Habanero, 12 titanium damascus oz. $12.99. Availability: In stock (New). Availability: titanium oxide formula In iron titanium stock. black titanium wedding bands Rating: 5 · ‎1 review · titanium aftershokz ‎$12.99 · ‎In stock

    ตอบลบ